บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด



บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด

ที่มาของบริษัท
โรงภาพยนตร์ในรูปแบบซีนีเพล็กซ์ (Cineplex) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2538 โดยคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ในรูปแบบของ Standalone สร้างบนที่ดินที่มีสัญญาเช่าระยะยาว 20-30 ปี ในรูปแบบอาคาร 7-10 ชั้น ซึ่งรวมโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิงไว้ด้วยกัน และมีพื้นที่ให้เช่าสำหรับร้านค้าหลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสทั้งจากจำนวนภาพยนตร์ที่หลากหลายและร้านค้า ร้านอาหารที่เรียงรายให้เลือกมากมาย ทำให้ปริมาณผู้มาใช้บริการในศูนย์Standalone มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้มีร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่กันมาก ส่งผลให้บริษัทฯมีอัตราพื้นที่เช่าเกินกว่า 90 % มาโดยตลอด โรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone ณ สิ้นปี 2556 มี 5 สาขา ได้แก่ สาขาปิ่นเกล้า (สาขาแรกของประเทศไทย) ,สาขาสุขุมวิท ,สาขารัชโยธิน, สาขารังสิต และสาขา เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย  นอกเหนือจากโรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone แล้ว บริษัทฯยังขยายสาขาในอีก 3 รูปแบบ ดังนี้
               - รูปแบบห้างสรรพสินค้า
               - รูปแบบศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์
               - รูปแบบห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
               ในอดีต การขยายสาขาในรูปแบบห้างสรรพสินค้าเป็นที่นิยมเนื่องจากห้างสรรพสินค้ามีอัตราการเติบโตที่สูงมาก อีกทั้งยังสามารถประหยัดเงินลงทุนได้มากกว่าการขยายสาขาแบบ Standalone ต่อมาบริษัทฯได้เพิ่มรูปแบบการขยายสาขาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มอลล์ตั้งแต่ปี 2547 โดยการเข้าไปร่วมลงทุนใน บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างเพียง 3-5 ไร่ มีระยะเวลาก่อสร้าง 6-12 เดือน ดังนั้นจึงสามารถเลือกทำเลที่อยู่ใกล้ชุมชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี
                จากกระแสความนิยมในการรับชมภาพยนตร์และมีโรงภาพยนตร์เป็นผู้เช่าหลัก ธุรกิจของบมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จึงสามารถเติบโตได้กว่า 10 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบัน บริหารพื้นที่เช่าสูงกว่า 240,000 ตารางเมตร ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อทางบริษัทฯ คือสามารถเข้าไปตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน สามารถให้สะดวกต่อผู้ชมภาพยนตร์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไกล สำหรับผลดีต่อ บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ก็คือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการได้หลากหลายมากขึ้นด้วยโรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งที่มีในศูนย์การค้า
                อีกทางเลือกของการพัฒนารูปแบบสาขาของบริษัทฯคือการเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งโดยเป็นผู้เช่าหลัก ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รูปแบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยสำหรับคนต่างจังหวัด แต่ยังเป็นจุดนัดพบ ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัวอีกด้วยโดยบริษัทฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สองแห่ง ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
                ปัจจุบัน บริษัทฯครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80 % ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย เป็นผลมาจากการควบรวมกิจการกับบมจ. อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในปี 2547 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ณ ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 23% ณ สิ้นปี 2556 บริษัทฯ มีแบรนด์ในเครือทั้งสิ้น 7 แบรนด์ ดังนี้
                - เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
                - อีจีวี ซีนีม่า
                - พารากอน ซีนีเพล็กซ์
                - เอสพละนาด ซีนีเพล็กซ์
                - พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์
                - เมกา ซีนีเพล็กซ์
                - หาดใหญ่ซีนีเพล็กซ์

นโยบายของบริษัท
                ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ของประเทศไทยและเป็นศูนย์รวมความบันเทิง 

วัตถุประสงค์ของบริษัท
               1.ขยายสาขาไปให้คลอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภค
               2. การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               3. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               4. พัฒนาตลาดภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทยเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ
               5. เสริมสร้างให้ไทยเป็นเขตปลอดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               6. เสริมสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในการบริโภคภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               7. ส่งเสริมธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
               8. ส่งเสริมความร่วมมือในการลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับต่างประเทศ

โครงสร้างองค์กร

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างองค์กร

หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก
ฝ่ายโรงภาพยนตร์
                1. แผนกธุรการ-การเงิน ทำหน้าที่
- ดูแลรับผิดชอบการคีย์ประวัติพนักงานใหม่ จัดทำสรุปเงินเดือน
- จัดทำสรุปบัญชีการเงิน รายได้ของสาขาและทำเอกสารส่งให้บัญชีส่วนกลาง
- ดูแลงานด้านธุรการ งานสำนักงานทั่วไป และดูแลกฎระเบียบบริษัทของสาขา
                ปัญหาแผนกธุรการ-การเงิน
                           - มีพนักงานขาดประสบการณ์ในด้านการบัญชี
                           - ขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
                2. แผนกห้องฉาย ทำหน้าที่
- ปฏิบัติงานดูแลการฉายภาพยนตร์ ตัดต่อฟิล์มภาพยนตร์
- รักษาอุปกรณ์การฉายเพื่อทำให้การฉายภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่น
- สร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
                ปัญหาแผนกห้องฉาย
                           - พนักงานดูแลห้องฉายมีไม่เพียงพอ
                           - เมื่อฉายภาพยนตร์แล้วพนักงานต้องไปทำที่โรงอื่นๆหากเกิดการขัดข้องก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
                3. แผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ ทำหน้าที่
                           - ปฏิบัติตามแผนงานเพื่อสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
- ให้บริการกับลูกค้าเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี
- ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกค้า
                ปัญหาแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                           - พนักงานคิดราคาตั๋วภาพยนตร์ผิดพลาด
                           - ระบบการเงินภายในไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

ฝ่ายธุรกิจโบว์ลิ่ง
                1. แผนกพนักงาน ทำหน้าที่
                            - ให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อสร้างความประทับใจ
 - ดูแลความเรียบร้อยและให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง
 - แนะนำบริการและแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับลูกค้า
                ปัญหาแผนกพนักงาน
                            - พนักงานขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ
                2. แผนกอาหาร ทำหน้าที่
                            - ปรุงอาหารไทย-จีน-ฝรั่ง-ญี่ปุ่น ตามเมนู หรือตามที่ลูกค้าสั่ง
 - ตรวจเช็ค Stock ของแห้ง-ของสด-อุปกรณ์ เพื่อพร้อมใช้งาน
 - ดูแลเรื่องอาหารสำหรับงานเลี้ยงต่างๆ ที่มีขึ้น
                ปัญหาแผนกอาหาร
                            - ขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษทำให้สื่อสารได้ยาก
                            - อุปกรณ์บางชิ้นชำรุดขาดการซ่อมแซม
                3. แผนกช่างซ่อม ทำหน้าที่
                            - รับผิดชอบดูแลเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสาขาให้มีประสิทธิภาพ
 - ควบคุมการซ่อมแซม ปรับเปลี่ยนและการสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
 - ประสานงานในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง/ เร่งรัดงานในการดูแล บำรุง รักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสาขาให้มีประสิทธิภาพ
                ปัญหาแผนกช่างซ่อม
                             - อุปกรณ์บางส่วนเป็นของเก่าจึงเกิดการชำรุดได้บ่อยครั้ง
                             - การประสานงานข้ามหน่อยมีขั้นตอนมากจนทำให้ล่าช้าได้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                1.แผนกสื่อโฆษณา ทำหน้าที่
                              - เผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆให้ลูกค้าได้ทราบทุกช่องทาง
                              - ผลิตสื่อที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้และเป็นธรรม
                              - สามารถตอบปัญหาที่ลูกค้าข้องใจได้อย่างกระจ่างแจ้ง
                ปัญหาแผนกสื่อโฆษณา
                              - อุปกรณ์สื่อประชาสัมพันธ์มีจำนวนมากและใช้ไม่หมด ทำให้ศูนย์เสียต้นทุน
                              - พื้นที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การบริการและการประชาสัมพันธ์ไปได้ไม่ทั่วถึง
                2. แผนกบริการลูกค้า ทำหน้าที่
                              - อำนวยความสะดวกด้านต่างๆให้แก่ลูกค้า
                ปัญหาแผนกบริการลูกค้า
                              - อำนวยความสะดวกได้ไม่เต็มที่เพราะเจ้าหน้าที่มีน้อยลูกค้ามีมาก


ฝ่ายบริหาร
                1. แผนกเจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่
                          - ควบคุมดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยให้กับสถานที่
  - ควบคุมเจ้าหน้าที่และพนักงานร้านค้าให้อยู่ในกฏระเบียบของศูนย์การค้า
  - ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  - อำนวยความสะดวก และควบคุมดูแลการจัดงานโปรโมชั่นต่างๆ
                ปัญหาแผนกเจ้าหน้าที่
                              - การควบคุมเจ้าหน้าที่เป็นไปได้ยากเพราะตรวจสอบได้ยากว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด
                2. แผนกซ่อมบำรุง ทำหน้าที่
                             - ดูแลงานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบปรับอากาศ, ระบบโทรศัพท์, ระบบประปาภายในศูนย์การค้า
  - ให้บริการและประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  - วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลต่างที่ใช้งานในองค์กร
                ปัญหาแผนกซ่อมบำรุง
                             - มีจำนวนช่างซ่อมบำรุงเยอะเกินไป
                             - การประสานงานกับฝ่ายต่างๆทำได้ช้าและยุ่งยาก
ฝ่ายสารสนเทศ
                1. แผนก System ทำหน้าที่
                             - วิเคราะห์และประเมินผลเพื่อหาความเป็นไปได้ของระบบเพื่อให้สอดคล้องกับ Business
 - จัดทำเอกสาร ARS, Spec, ER-Diagram, Workflow, Data Dictionary
 - จัดทำ Test script ทดสอบระบบ ติดตามแก้ไขปัญหาที่พบได้
                ปัญหาแผนก System
                            - ขาดพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์
                2. แผนกออกแบบ ทำหน้าที่
                            - ออกแบบ ตกแต่งภายในโรงภาพยนตร์/ โบว์ลิ่ง/ สำนักงานใหญ่
 - สรุปเปรียบเทียบราคาผู้รับเหมา
                ปัญหาแผนกออกแบบ
                            - มีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและตกแต่งภายใน


ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกช่างซ่อม
                - การเงินไม่สามารถจ่ายเงินได้หากช่างซ่อมไม่บอกรายละเอียดและจำนวนเงินให้ทราบ
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกอาหาร
                - แผนกอาหารไม่แจ้งจำนวนอาหารในสต๊อกทำให้การเงินไม่สามารถจ่ายเงินได้
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกพนักงาน
                - พนักงานเข้าออกไม่เป็นเวลาจึงไม่สามรถตรวจสอบเวลาทำงานได้
                - พนักงานขาดงานแบบไม่มีสาเหตุ
                - ตรวจสอบเวลาทำงานจริงของพนักงานได้ยาก
ปัญหาระหว่างแผนกห้องฉายกับแผนกซ่อมบำรุง
                - ห้องฉายไม่สามารถทำงานได้เพราะอุปกรณ์ชำรุดแผนกช่างซ่อมไม่มาซ่อม
                - ยอดขายตั๋วอาจลดลงได้
ปัญหาระหว่างแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์กับแผนกธุรการ-การเงิน
                - จำนวนตั๋วที่ขายออกกับจำนวนเงินที่รับเข้าไม่ตรงกัน
                - พนักงานทั้งสองแผนกอาจมีการทะเลาะกัน
ปัญหาระหว่างแผนกช่างซ่อมกับแผนกช่างซ่อมบำรุง
                - หน้าที่รับผิดชอบเหมือนกัน
                - พนักงานมีเยอะจึงเกี่ยงกันทำงาน
ปัญหาระหว่างแผนกอาหารกับแผนกบริการลูกค้า
                - อาหารไม่สะอาดทำให้แผนกบริการลูกค้าต้องมารับหน้าแทน
                - พนักงานทั้งสองแผนกอาจมีปากเสียงกันได้
                - อาจทำให้ลูกค้าลดน้อยลง
ปัญหาระหว่างแผนกสื่อโฆษณากับแผนกออกแบบ
                - ไม่สามารถโฆษณาสินค้าได้เพราะแผนกออกแบบไม่ส่งมอบงานให้
                - ลูกค้าไม่สามารถรับรู้ถึงข่าวสารของกิจการ
ปัญหาระหว่างแผนกบริการลูกค้ากับแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                - แผนกจอง-จำหน่ายตั๋วมีการจ่ายตั๋วผิดพลาดทำให้แผนกบริการลูกค้าต้องโดนติและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทน
ปัญหาระหว่างแผนกซ่อมบำรุงกับแผนกธุรการ-การเงิน
                - แผนกซ่อมบำรุงไม่สามารถทำงานได้เพราะไม่ได้รับเงินจากฝ่ายธุรการ-การเงิน
ปัญหาระหว่างแผนก System กับ จอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                - แผนก System ทำระบบผิดพลาดจึงทำให้การจ่ายตั๋วคลาดเคลื่อนและทำให้เกิดผลกระทบกับแผนกต่างๆ
ปัญหาระหว่างแผนกออกแบบกับแผนกสื่อโฆษณา
                - สื่อโฆษณาไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะส่งมอบงานให้แน่ชัดจึงทำให้ไม่เข้าใจในการส่งมอบงาน
สรุปปัญหาทั้งหมด
1. พนักงาน มีปัญหากัน เกิดการเกี่ยงกันทำงาน
2. การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
3. อุปกรณ์เกิดการชำรุดจึงไม่สามารถใช้งานได้
4.ไม่สามารถรู้เวลาเข้า ออกของพนักงานที่แท้จริง
5. พบข้อบกพร่องของระบบ เช่น ระบบจ่ายตั๋วคาดเคลื่อน
6. ปริมาณและคุณภาพของอาหารไม่ได้ตามมาตรฐาน
7. บุคลากรในการทำงานมีจำนวนมาเกินไป
8. บุคลากรขาดความรู้ ทักษะด้านต่างๆ
9. ตรวจสอบการทำงานของพนักได้ยาก
10. การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทำได้ช้าเพราะเกิดการเกี่ยงงานกัน
11. หากประชาสัมพันธ์ไม่ทราบข้อมูลของบริษัทก็จะทำให้ประชาสัมพันธ์ได้ไม่ดีนัก
12. การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายยังไม่มีประสิทธิภาพ
13. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
14.อัพเดตข้อมูลการตลาดไม่ทันฝ่ายคู่แข่ง
15. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
16. การอนุมัติไปยังแผนกต่างๆทำได้ช้าเพราะขาดหลักฐานทางการเงิน
17. จำนวนตั๋วที่ขายออกกับจำนวนเงินที่รับเข้าไม่ตรงกัน
18. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
19. การค้นหาเอกสารทำได้ยากและเสียเวลา
20. คุณภาพของอาหารในคลังตรวจสอบได้ยาก
21. อาหารมีจำนวนเยอะเกินความต้องการขอลูกค้า
22. อาหารเยอะขายไม่ทันทำให้เน่าเสียเกิดการขาดทุนได้
ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบงาน
 

ระบบที่ต้องการพัฒนา
   1. ระบบธุรการ-การเงิน  เพื่อจัดทำระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการทำงาน
   2. ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์  เพื่อให้การจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์แก่ลูกค้าไม่มีข้อผิดพลาดและเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
   3. ระบบคลังอาหาร  เพื่อให้สามารถรู้จำนวนอายุของอาหารและจำนวนอาหารในคลังอย่างชัดเจนและถูกต้อง

ประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร

แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท




แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)

ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ในการตัดสินใจ
             1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
             2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
             3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
             4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
             5. เพิ่มผลกำไร

ขั้นตอนที่ 1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(Project Identification and Selection)
ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรรโครงการที่ต้องการพัฒนา
1. ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา
                จากการที่ได้สำรวจปัญหาแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
                1. ระบบธุรการ-การเงิน
   2. ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                 3. ระบบคลังอาหาร
     ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น 550,000 บาท
ตารางที่ การกำหนดชื่อโครงการ
2. จำแนกและจัดกลุ่มระบบ
    ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามาได้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
  1. ระบบธุรการ-การเงิน
             เพื่อจัดทำระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการทำงาน
  2. ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
   เพื่อให้การจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์แก่ลูกค้าไม่มีข้อผิดพลาดและเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
  3. ระบบคลังอาหาร
                 เพื่อให้สามารถรู้จำนวนอายุของอาหารและจำนวนอาหารในคลังอย่างชัดเจนและถูกต้อง


ตารางที่  3  จำแนกวัตถุประสงค์ของบริษัท
จากตาราง พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3 มาพิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์ สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเมตริกซ์  Information System –to-Objectives
ตารางที่  4   เมตริกซ์  Information System –to-Objectives
จากการพิจารณาโครงการทั้ง 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุด คือ ระบบธุรการ-การเงินและระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุนได้และปฎิเสธโครงการพัฒนาระบบธุรการ-การเงิน เนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า

การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์มาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือ มีการจ่ายตั๋วภาพยนตร์ให้ลูกค้าผิดพลาด  การคิดเงินตั๋วภาพยนตร์คาดเคลื่อน ทำให้ลูกค้าไม่พอใจยอดขายลดลง เพื่อลดปัญหาต่างๆลง ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ ดังนี้
1.ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
3.ใช้ทีมงานเดิมเพื่อพัฒนาและติดตั้งระบบ

รูปที่ 2 ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
ทางเลือกที่ 1 จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
ตารางที่ 5   แนวทางเลือกที่ 1. การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4             ช่วงคะแนน 100-90           เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3            ช่วงคะแนน 89-70             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2            ช่วงคะแนน 69-50             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1            ช่วงคะแนน 49-30             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 1

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกใช้ซอฟต์แวร์ บริษัทซีเนียร์ซอฟท์ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด


ทางเลือกที่ 2 ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อมาพัฒนาระบบ
ตารางที่ 6   แนวทางเลือกที่ 2. ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อมาพัฒนาระบบ
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4             ช่วงคะแนน 100-90           เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3            ช่วงคะแนน 89-70             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2            ช่วงคะแนน 69-50             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1            ช่วงคะแนน 49-30             เปอร์เซ็นต์    เกณฑ์ที่ได้      ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือก จ้างบริษัท  บริษัทฟีนิกซ์ซอฟแวร์จำกัด มาพิจารณา เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่ 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
ตารางที่ 7   แนวทางเลือกที่ 3. ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
การประเมินแนวทางเลือกที่ 3  ไม่มีการประเมินเพราะไม่มีการเปรียบเทียบ

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่ามีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 3 เดือนและมีค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 300,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ดและค่าสำรองฉุกเฉินเป็นต้น)
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง 3
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 8   เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง 3
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 2
  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและสร้างความวางไว้วางใจต่อลูกค้า
วัตถุประสงค์
เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และความทันสมัยของระบบเพื่อทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบถูกต้องของการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์และรวดเร็วเพื่อตรงตามความต้องการของลูกค้า
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ได้มีการจัดขึ้นโดยทีมงานของบริษัท ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ต่อไปนี้
   1. ระบบจะต้องใช้งานได้ง่าย เหมาะสมกับพนักงาน
   2. ระบบจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ถูกต้องแม่นยำ
   3. มีความผิดพลาดในการทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
   4. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
   5. ระบบสามารถตรวจสอบการซื้อขายสินค้าได้
ปัญหาของระบบเดิม
   1. พนักงานคิดราคาตั๋วภาพยนตร์ผิดพลาด
   2. ระบบการเงินภายในไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
   3. ลูกค้าไม่พอใจในงานบริการขายตั๋วภาพยนตร์
   4. ระบบยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ความต้องการของระบบใหม่
   1. ระบบมีประสิทธิภาพมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
   2. ระบบต้องรวดเร็วต่อความต้องการของลูกค้า
   3. สามารถตรวจสอบยอดขายตั๋วที่ออกได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
   1. การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
   2. มียอดการจองและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
   3. ระบบมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
   4. ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่องานบริการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
   5. สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
   6. ตรวจสอบยอดขายที่จองและจำหน่ายออกไปแล้ว
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
   -  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
   -  ประมาณการใช้ทรัพยากร
   -  ประมาณการใช้งบประมาณ
   -  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

1. ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
 ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมายเป็นบุคคลฝ่ายสารสนเทศที่มีความรู้ในด้านระบบ ซึ่งจะมีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้
    - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสารสนเทศเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ระบบกับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    - โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
    ในปัจจุบันบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
         1. เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
                       2. เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 8 เครื่อง
                       3. เครื่องพิมพ์ (Printer) 3 เครื่อง
         4. อุปกรณ์ต่อพวง 4 ชุด (ตามความเหมาะสม)
ตารางที่ 9 การบริหารงาน
สรุปงบประมาณของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1.ส่วนของผู้บริหาร
        ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
        นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์                 200,000           บาท
2.พนักงาน
        ฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน 10 คน                           2,000          บาท
        วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ                                                           2,000          บาท
3.จัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
        เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นworkstation                                  57,000          บาท
        อื่นๆ                                                                                         10,000          บาท
                                                                                        รวม        271,000          บาท
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ของบริษัท
ระยะเวลาดำเนินงาน
- คือวันจันทร์-ศุกร์ ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์
- 8 ชั่วโมงต่อวันไม่รวมช่วงพักเที่ยง
- หากมีการทำงานในช่วงเวลานอกคือหลังเวลาเลิกงานหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์จะได้รับ OT เพิ่มและวันหยุดนักขัตฤกษ์ได้ค่าแรงเป็น 2 เท่า
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์เดิมของบริษัทส่วนใหญ่มีการทำเทคโนโลยีมาใช้บางส่วนแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในด้านการบริการและระบบสารสนเทศทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น
ทั้งนี้ทางทีมงานจึงได้พัฒนาระบบและได้ศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ด้านของระบบนี้ประกอบด้วย ความเป็นไปได้ทางเทคนิค ความเป็นไปได้ทางการปฏิบัติงาน และความเป็นไปได้ทางด้านระยะการดำเนินงานจะเป็นข้อมูลไว้ช่วยสนับสนุนโดยนำมาใช้งานดังต่อไปนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
ในส่วนนี้อาจเกี่ยวข้องกับทางด้าน Software และHardware ของระบบเดิม ว่ามีการใช้ส่วนใดบ้างเช่นโปรแกรมสำเร็จรูปด้านต่างๆและอุปกรณ์อื่นๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านปฏิบัติงาน
ทำการศึกษาทางด้านการปฏิบัติงานของผู้ใช้กับระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัทซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการทดสอบ การทดลองระบบว่าระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร
             3. ความเป็นไปได้ทางด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ ใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2557 - 1 มีนาคม 2558 ในการดำเนินงานพัฒนาระบบของบริษัท
จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบได้ผลที่ประสบความสำเร็จ ระบบที่ได้เป็นไปตามความต้องการของบริษัท


ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์นี้ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้วดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
บุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม คือ พนักงานผู้ที่ใช้ระบบการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการพัฒนาเนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ซึ่งไม่ต้องมีการจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของพนักงาน สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล
แบบฟอร์มที่ แบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลและเอกสารของระบบงานที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
       1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
       2. ความต้องการในระบบใหม่
ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
       1. เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2007
       2. เครื่องลูกข่าย จำนวน 8 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
           ·       แผนกธุรการ-การเงินใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccStar และใช้ Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
           ·       แผนกห้องฉายใช้เครื่องฉายระบบฟิล์ม ในการฉายภาพยนตร์
           ·       แผนกจำหน่ายตั๋วใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
           ·       แผนกช่างซ่อมใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้
           ·       แผนกอาหารใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูประบบคลังสินค้า
           ·       แผนกพนักงานใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
           ·       แผนกสื่อโฆษณาใช้ซอฟแวร์ Microsoft Power Point 2007 ในการประชามสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร
           ·       แผนกบริการลูกค้าใช้ระบบ PC telephony รวมถึง Internet telephony ซึ่งเป็นการรวมระบบ โทรศัพท์เข้ากับระบบงานต่างๆ
           ·       แผนกเจ้าหน้าที่ใช้ซอฟแวร์ Microsoft word 2007 ในการพิมพ์รายงานต่างๆ
           ·       แผนกซ่อมบำรุงใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ ซ่อมบำรุง และจัดลำดับการเข้าบริการ ซ่อมบำรุง
           ·       แผนก system ใช้ซอฟแวร์ Microsoft word 2007 ในการพิมพ์รายละเอียดของระบบแผนกออกแบบใช้ซอฟแวร์ VISUAL STUDIO 2010 EXPRESS EDITION ในการออกแบบ
       3. เครื่องพิมพ์จำนวน 3 เครื่อง
       4. อุปกรณ์ต่อพ่วง จำนวน 4 ชุด
ความต้องการในระบบใหม่
       1.ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มีความรวดเร็วและแม่นยำ
       2.สามารถดูยอดที่จำหน่ายตั๋วออกไปแล้วได้
       3.มีความสะดวกต่อการใช้งาน
       4.การใช้งานไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนเกินไป
       5.มอบความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท
       6.สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า
ความต้องการระบบงานใหม่
             จากผู้ใช้จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติมจึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเช่น
       1.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
       2.พนักงานสามารถงานระบบได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ
       3.มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและค้นหาข้อมูลได้ง่าย
       4.ระบบมีประสิทธิภาพตอบสนองกับความต้องการของพนักงานและลูกค้า


ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแปนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ดังนี้

แผนภาพบริบท (Context Diagram)
รูปที่ 3 แสดง  Context Diagram
อธิบาย Context Diagram
จาก Context Diagram ของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบ ทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ นี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ ได้ดังนี้
พนักงาน
พนักงานจะส่งข้อมูลภาพยนตร์ ข้อมูลโรงภาพยนตร์ และข้อมูลภาพยนตร์เข้าฉาย เข้าสู่ระบบ ระบบจะส่งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการจอง ข้อมูลการชำระเงิน ให้พนักงาน
ลูกค้า
ลูกค้าจะส่งข้อมูลการจอง และข้อมูลการชำระเงิน เข้าสู่ระบบ ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการ ข้อมูลการจองจึงจะสามารถแสดงข้อมูลลูกค้ากับข้อมูลการชำระเงินจึงจะสามารถแสดงตั๋วให้กับลูกค้าได้

แสดง DFD LEVEL 0
รูปที่ แสดง DFD ภาพรวมของระบบการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
อธิบาย Data Flow Diagram Level 0
จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 7 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลภาพยนตร์ พนักงานจะนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลภาพยนตร์ แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลภาพยนตร์เข้าฐานข้อมูลภาพยนตร์
Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลโรงภาพยนตร์ พนักงานจะนำข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์ แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าฐานข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลสมาชิก พนักงานและลูกค้าจะนำข้อมูลลูกค้าเข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลสมาชิกเข้าฐานข้อมูลสมาชิก
Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลรายการฉาย พนักงานจะนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลรายการฉาย แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลรายการฉายเข้าฐานข้อมูลรายการฉาย
Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลการจอง ลูกค้าจะทำการจองตั๋วภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลการจอง แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลการจองเข้าฐานข้อมูลการจอง
Process 6.0 ตรวจสอบการชำระเงิน
เป็นระบบตรวจสอบการชำระเงิน ลูกค้าจะนำข้อมูลการชำระเงินเข้าสู่ระบบตรวจสอบการชำระเงิน พนักงานจะตรวจสอบการชำระเงินจากระบบตรวจสอบการชำระเงิน แล้วระบบจะทำการส่งข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าให้กับพนักงาน
Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
เป็นระบบพิมพ์ตั๋ว พนักงานจำนำข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าเข้าสู่ระบบ เพื่อพิมพ์ตั๋วออกมาให้สมาชิก
Data  Flow   Diagram  Level 1 of    Process 1.0
รูปที่ แสดง  DFD  Level 1 of  Process 1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
Process 1.1 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
Process 1.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 1.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานจัดการข้อมูลภาพยนตร์ ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลภาพยนตร์ได้
Data  Flow   Diagram  Level 1 of    Process 2.0
รูปที่ แสดง  DFD  Level 1 of  Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
คำอธิบาย DFD  Level 1 of  Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 2.1 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 2.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 2.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์ ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลโรงภาพยนตร์ได้
Data  Flow   Diagram  Level 1  of   Process  3.0
รูปที่ แสดง DFD  Level 1 of   Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
คำอธิบาย DFD  Level 1 of   Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
Process 3.1 จัดการข้อมูลสมาชิก
Process 3.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 3.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานและลูกค้านำข้อมูลลูกค้าเข้าสู่ระบบ พนักงานและลูกค้าจัดการข้อมูลสมาชิกการตรวจสอบข้อมูลสมาชิก จัดเก็บข้อมูลสมาชิก พนักงานและลูกค้าสามารถเรียกดูข้อมูลสมาชิกได้
Data Flow  Diagram  Level 1  of   Process 4.0
รูปที่ แสดง DFD  Level 1 of   Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
คำอธิบาย DFD  Level 1 of   Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
Process 4.1จัดการข้อมูลรายการฉาย
Process 4.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 4.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานทำการดึงข้อมูลภาพยนตร์ ข้อมูลโรงภาพยนตร์มาจัดการข้อมูลรายการฉาย ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลรายการฉายได้
Data  Flow   Diagram  Level 1  of   Process 5.0
รูปที่ แสดง DFD  Level 1 of   Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
คำอธิบาย DFD  Level 1 of   Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
Process 5.1 จัดการข้อมูลการจอง
Process 5.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 5.3 จัดเก็บข้อมูล
ลูกค้าทำการจองตั๋วภาพยนตร์ ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลการจองและสมาชิกสามารถเรียกดูข้อมูลการจองได้
Data  Flow   Diagram  Level  1  of  Process 6.0
รูปที่ 10 แสดง DFD  Level  1  of  Process 6.0 ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงิน
คำอธิบาย DFD  Level  1  of  Process 6.0 ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงิน
Process 6.1 ตรวจสอบการชำระเงิน
Process 6.2 ประมวลผล
Process 6.3 ส่งข้อมูล
ลูกค้านำข้อมูลการชำระเงินส่งระบบตรวจสอบการชำระเงิน พนักงานจะตรวจสอบการชำระเงิน ทำการประมวลผล ส่งข้อมูลการชำระเงินให้พนักงาน
Data  Flow   Diagram  Level 1 of    Process 7.0
รูปที่ 11 แสดง  DFD  Level 1 of  Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
Process 7.1 พิมพ์ตั๋ว
Process 7.2 ประมวลผล
Process 7.3 ส่งข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลการชำระเงินเข้าสู่ระบบ พนักงานทำการพิมพ์ตั๋วให้สมาชิก
แบบจำลองข้อมูล (Data Modeling)
ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ด้วย E-R Diagram
นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล (Data Modeling) ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram : E-R Diagram) โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่างๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบการขาย ในระบบการขายสามารถสร้าง E-R Diagram ตามขั้นตอนต่อไปนี้
สร้าง Relationship ให้กับ Entity
จาก Entity ที่ได้และการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมนำมาเขียนเป็นความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่าง Entity ทั้งหมดดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกกับใบจอง เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: กล่าวคือ สมาชิก 1 คนสามารถมีใบจองได้หลายใบ และใบจอง 1 ใบเป็นของสมาชิกได้แค่ 1 คน
รูปที่ 1แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกกับใบจอง
2. ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับรายการฉาย เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: กล่าวคือ ภาพยนตร์1 เรื่องสามารถมีรายการฉายได้หลายรายการ และรายการฉาย 1 รายการเป็นของภาพยนตร์ได้แค่ 1 เรื่อง
รูปที่ 13 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับรายการฉาย
3. ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับโรงภาพยนตร์ เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: M กล่าวคือ ภาพยนตร์เรื่องสามารถฉายได้หลายโรง และโรงภาพยนตร์ โรงก็สามารถฉายได้แค่ เรื่อง
รูปที่ 1แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับโรงภาพยนตร์
4. ความสัมพันธ์ระหว่าง โรงภาพยนตร์กับรายการฉายเป็นความสัมพันธ์แบบ M : N กล่าวคือ โรงภาพยนตร์ โรงสามารถมีรายการฉายได้หลายรอบ และรายการฉาย รอบก็สามารถฉายได้หลายโรง
รูปที่ 1แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โรงภาพยนตร์กับรายการฉาย
5. ความสัมพันธ์ระหว่าง ใบจองกับรายละเอียดรายการฉายเป็นความสัมพันธ์แบบ M : N กล่าวคือ ใบจอง ใบสามารถมีรายการฉายได้หลายรอบ และรายการฉาย รอบสามารถมีใบจองได้หลายใบ
รูปที่ 1แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ใบจองกับรายละเอียดรายการฉาย


กำหนด Attribute และ Primary key
รูปที่ 1แสดง E-R Diagram  รวม

ตารางแสดงการออกแบบเอนทิตี้

ตาราง tab_user   (พนักงาน)

ตาราง tab_member ( สมาชิก)

ตาราง tab_movies (ภาพยนตร์)

ตาราง tab_room  (โรงภาพยนตร์)

ตาราง tab_sale   (ใบจอง)

ตาราง tab_cycle (รายการฉาย)

ตาราง tab_cycle_detail (รายละเอียดรายการฉาย) 


ตาราง tab_ticket (ตั๋ว)


ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบเชิงกายภาพ
ขั้นตอนการออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
เป็นขั้นตอนที่ระบุถึงลักษณะการทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เทคโนโลยี โปรแกรมภาษาที่จะนำมาเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ และระบบเครือข่ายที่เหมาะสมกับระบบ
การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface Design)
เป็นการออกแบบจอภาพเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบได้ตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพในปัจจุบันนิยมใช้การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User Interface)
รูปที่ 18 แสดงหน้าจอหลัก

รูปที่ 19 แสดงหน้าจอการสมัครสมาชิก (ส่วนของพนักงาน)

รูปที่ 20 แสดงหน้าจอจัดข้อมูลภาพยนตร์

รูปที่ 21 แสดงหน้าจอรายการฉายหนังทั้งหมดและรายละเอียด

รูปที่ 22 แสดงหน้าจอการเปลี่ยนสถานะของหนัง

รูปที่ 23 แสดงหน้าจอแก้ไขรายการหนัง

รูปที่ 24 แสดงหน้าจอตรวจสอบรายการจอง

รูปที่ 25 แสดงหน้าจอพิมพ์ตั๋ว

รูปที่ 26 แสดงหน้าจอเลือกช่วงเวลาการจองตั๋วหนัง

รูปที่ 27 แสดงหน้าจอรายการจองที่นั่งชม

รูปที่ 28 แสดงหน้าจอรายการจองที่นั่งชม

รูปที่ 29 แสดงหน้าจอจัดการข้อมูลโรงหนัง

รูปที่ 30 แสดงหน้าจอสมัครสมาชิก (ส่วนของสมาชิก)

รูปที่ 31 แสดงหน้าจอการเลือกช่วงเวลาการจองตั๋วหนัง (ส่วนของสมาชิก)


ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ

 ทีมงานได้จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรมของระบบการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้มากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แนะนำโปรแกรมระบบการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ เป็นระบบที่สามารถทำงานได้หลายหน้าที่และมีระบบย่อยทั้งหมด 7 ระบบได้แก่
1.1 ระบบจัดการข้อมูลภาพยนตร์ เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบรายละเอียดของภาพยนตร์ จัดเก็บข้อมูลรายการภาพยนตร์และสามารถเรียกดูข้อมูลภาพยนตร์
1.2 ระบบจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์ เป็นระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์ ตรวจสอบและเรียกดูข้อมูลโรงภาพยนตร์
1.3 ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก เป็นระบบที่สามารถจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลสมาชิก
1.4 ระบบจัดการข้อมูลรายการฉาย เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบ เวลา จำนวนรอบในการฉายของภาพยนตร์
1.5 ระบบจัดการข้อมูลการจอง เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบการจองตั๋วภาพยนตร์ สามารถจัดเก็บข้อมูลการจองตั๋วภาพยนตร์ของลูกค้า
1.6 ระบบตรวจสอบการชำระเงิน เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบการชำระเงินของลูกค้าที่ได้ชำระเงินแล้วและสามารถบอกรายละเอียดแก่ลูกค้า สามารถคำนวณราคาตั๋ว และออกตั๋วให้กับลูกค้า
1.7 ระบบพิมพ์ตั๋ว เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์ตั๋ว โดยมีการแสดงรายละเอียดภาพยนตร์ วันที่ เวลา รอบฉาย ให้แก่ลูกค้า

ขั้นตอนที่  7
การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนการซ่อมบำรุงระบบ
        เป็นขั้นตอนเพื่อการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นรวมทั้งเป็นขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงหรือดัดแปลงหรือแก้ไขทั้งโปรแกรม  การซ่อมบำรุงระบบนั้นขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง ผู้ใช้งานต้องหมั่นตรวจสอบดูแลระบบอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังปรับปรุงให้ระบบทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น